5 โรคร้ายที่คนเลี้ยงเต่าต้องระวัง

5 โรคร้ายที่คนเลี้ยงเต่าต้องระวัง5 โรคร้ายที่คนเลี้ยงเต่าต้องระวัง

สำหรับใครหลายคนที่พึ่งลองเลี้ยงเต่าเป็นครั้งแรกหรือมือใหม่ที่กำลังอยากจะเลี้ยงเต่าไว้เป็นเพื่อนดูเล่นในยามเหงา หนึ่งสิ่งที่ทำให้หลายคนกังวลในการเลี้ยงเต่าก็คือโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับเต่าที่เราเลี้ยงได้

ซึ่งเต่านั้นถือว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีอายุยืนยาวชนิดหนึ่งเลยก็ว่าได้ พวกมันมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี โดยที่ในประเทศไทยเองก็มีเต่าอยู่หลายสายพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นเต่าน้ำจืด

หรือเต่าน้ำเค็ม ซึ่งในปัจจุบันนั้นการเลี้ยงเต่าเพื่อความสวยงามหรือเพื่อการอนุรักษ์ก็ได้รับการแพร่หลายอย่างมากทั่วโลก ดังนั้นแล้วสำหรับผู้เลี้ยงเองก็ควรจะมีการศึกษาเกี่ยวกับโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับเต่าที่เรารักได้เสมอ เต่าที่เป็นโรคจะแสดงอาการผิดปกติซึ่งผู้เลี้ยงจะสังเกตเห็นได้จาก

น้ำหนักเต่าตัวที่ป่วยจะมีน้ำหนักเบากว่าปกติ สังเกตหัวและตา โดยดูจากผิวหนังที่มีการบวมของตาและปาก นอกจากนั้นควรสังเกตสีเยื่อเมือกในการดู มีการแสดงท่าเหมือนเต่าว่ายน้ำเมื่อถูกยกขึ้นมา แต่เต่าป่วยจะหงอยและซึมเมื่อถูกยกขึ้น เต่าควรมีกระดองแข็งยกเว้นเต่ากระดองนิ่มบางชนิด และพบในลูกเต่าที่ยังเล็กมาก สังเกตอาการผิดปกติต่างๆ โดยหลักๆ แล้วจะมี 5 โรคที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดในการเลี้ยงเต่า

1.โรคผิวหนัง (Skin disease)

สาเหตุเกิดมาจากบาดแผล การปนเปื้อนของเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียในน้ำ ขาดวิตามิน อาการที่เราสามารถสังเกตได้ก็คือเกิดแผลหลุมที่ผิวหนัง เต่าไม่ยอมกินอาหาร อ่อนเพลีย เป็นอัมพาต ซึ่งจะลุกลามไปจนถึงมีเนื้อตายที่อวัยวะภายในเช่น ตับ โดยการรักษาเชื้อแบคทีเรียโดยการให้ยาปฏิชีวนะร่วมกับการทาด้วยเบต้าดีน สำหรับการกำจัดเชื้อราให้ใช้ยาฆ่าเชื้อราชนิดเป็นผง หรืออาจใช้เกลือ 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำ 1 แกลลอนแล้วเอาเต่าแช่ไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง หรือใช้น้ำส้มสายชูทาบริเวณที่เกิดเชื้อราก็ได้ แล้วจึงนำไปไว้ที่ถังเลี้ยงอย่างเดิม

2.โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ (Respiratory infections)

โดยมีสาเหตุเกิดมาจากเชื้อต่างๆ เช่น แบคทีเรีย รา ควันพิษ การขาดสารอาหาร เช่น วิตามินเอ สาเหตุที่อาจจะเกี่ยวข้องอื่นๆ ได้แก่ ความเครียดจากแสงสว่างที่มากเกินไป เป็นโรคที่พบบ่อยในเต่าเช่นกัน โดยเราสามารถสังเกตอาการของเต่าได้จากการมีน้ำมูก หายใจลำบากและมีเสียงดัง ซึม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีการปล่อยเมือกออกมาทางปากเป็นจำนวนมาก ลมหายใจและปากเหม็น เสียการทรงตัวและไม่สามารถลอยตัวได้ มักชอบขึ้นมาอยู่บนบก โดยการรักษาจะต้องให้ยาปฏิชีวนะ ฉีดอาการวิตามินเอ 10 IU ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในสถานที่เลี้ยง อาหารและทำลายเชื้อให้เรียบร้อยก่อนนำเต่ากลับลงไป ซึ่งมีวิธีการป้องกันโดยให้อาหารที่มีวิตามินเอสูงๆ เช่น หญ้าตระกูลถั่ว ผักสีเขียว ไม่ควรให้เต่ากินแต่ผักกาดหอม เนื่องจากในผักกาดหอมมีวิตามินเอ พลังงาน โปรตีนและแคลเซียมน้อยมาก ควรกำจัดสาเหตุของความเครียดของเต่า เช่นสภาพแวดล้อมควรจัดให้เหมาะสมกับเต่า และดูแลเอาใจใส่ให้มากยิ่งขึ้นในระหว่างที่เต่ายังรักษาตัว

3.โรคจากการขาดสารอาหาร (Dietary disorder)

ซึ่งเกิดมาจากสาเหตุเหล่านี้โดยมักเป็นปัญหามากคือ เกิดจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือมีคุณค่าอาหารน้อย เต่าเป็นสัตว์กินเนื้อ บางชนิดกินได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น เต่าญี่ปุ่น (Red eared slider) ในธรรมชาติเต่าจะกินแมลง ปลา ลูกอ๊อด และสัตว์ที่ตายแล้ว โดยกินเข้าไปทั้งตัว จึงทำให้เกิดความสมดุลของแร่ธาตุ แต่ผู้เลี้ยงมักเข้าใจผิดคิดว่า จะเป็นการดีถ้าให้เต่าได้รับอาหารที่เป็นเนื้อล้วนๆ ซึ่งนั้นเป็นอันตรายต่อเต่ามาก เพราะอาหารเช่นนี้ มีแคลเซียมต่ำและฟอสฟอรัสสูง โดยมีอัตราส่วนที่เหมาะสมอยู่ที่ 1:44 เต่าที่มีอายุน้อยจะไม่โตเต็มที่และกระดองจะนิ่มเนื่องจากการขาดแคลเซียม การขาดวิตามินเอเป็นเวลานานๆ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของเนื้อเยื่อต่อมที่ตา หนังตา และกระจกตา ทำให้เกิดโรคของตาและอาการการบวมที่ตาได้ ส่วนใหญ่แล้วการขาดวิตามินอีเป็นเวลานานๆ จะทำให้เนื้อเยื่อไขมันอักเสบ เกิดตุ่มเหลืองๆ ไปทั่วทั้งชั้นเนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งมีวิธีการรักษาโดยการที่เราจะทำการรักษาตามอาการเช่น การขาดแคลเซียมและวิตามิน ก็จะทำการฉีดแคลเซียมและวิตามิน ควรให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ หลังจากรักษาจากการฉีดแคลเซียมและวิตามิน และควรมีการปรับอาหารให้ถูกต้อง หลังการรักษาแล้วเต่าอาจจะมีรูปร่างที่บิดเบี้ยวและแคระแกร็น อาจจะทำให้เต่ามีความผิดปกติไปเป็นเวลานานได้

5 โรคร้ายที่คนเลี้ยงเต่าต้องระวัง
ขอบคุณรุปภาพจาก : petsayhai.com

4.พยาธิภายนอก

โดยมีสาเหตุมาจากการส่วนใหญ่เกิดจากเห็บ มักพบตามคอ มุมปากหรือมุมตาและโคนหาง หนอนแมลงวันเจาะไชแผล มักเกิดเมื่ออยู่บนบก ซึ่งมีวิธีการรักษาที่ง่ายโดยที่เราสามารถคีบเอาเห็บหรือหนอนออก จากนั้นทาด้วยยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันไม่ให้เห็บเหล่านี้กลับมาอีก

5.พยาธิภายใน

เป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัวที่ทำให้เกิดโรคบิด พยาธิตัวกลม เช่น Strongylus รวมถึงพยาธิชนิดอื่นๆ เช่นกัน อาการที่เราสามารถสังเกตได้อาจพบอาการท้องเสีย ขาดน้ำ ซึม เบื่ออาหาร ติดเชื้อทางกระแสโลหิตและเต่าอาจตายได้ในที่สุด โดยวิธีการรักษานั้นจำเป็นจะต้องใช้ยากำจัดโปรโตซัว เช่น Metronidazole 50 มิลลิกรัม ต่อ 1 กิโลกรัม ทุกวันติดต่อกัน 1 สัปดาห์ และจำเป็นจะต้องให้ยากำจัดพยาธิ เช่น Thiabendazole 50 มิลลิกรัม ต่อ 1 กิโลกรัม ทุกสัปดาห์ ติดต่อกันอย่างน้อย 3 ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีพยาธิหลงเหลืออยู่ภายในตัวของเต่า

ขอบคุณแหล่งที่มา : petsayhai.com

 


ติดตามข่าวสาร ได้ที่  : mydeedees.com

3 ฤดูกาลในประเทศไทย ที่ส่งผลต่อพฤติกรรม

3 ฤดูกาลในประเทศไทย ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของสุนัข สุนัขที […]

Read More

4 วิธีป้องกันไม่ให้สุนัขโดนรถชน

4 วิธีป้องกันไม่ให้สุนัขโดนรถชน ปัญหารถชนเป็นเรื่องปกติ […]

Read More

ของเล่นสุนัขภัยใกล้ตัวหากดูไม่ดีเสี่ยงโรคร้ายเข้าสู่ร่างกาย

ของเล่นสุนัขภัยใกล้ตัวหากดูไม่ดีเสี่ยงโรคร้ายเข้าสู่ร่า […]

Read More