“มีบุตรยาก” ในผู้หญิงและผู้ชาย สาเหตุมาจากอะไร พร้อมวิธีรักษา

ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ต่างมีปัจจัยที่อาจทำให้อยู่ในภาวะมีบัตรยากด้วยกันทั้งคู่ หากคนใดคนหนึ่งมีปัญหา จะมีวิธีรักษาอย่างไร

แพทย์หญิง เอื้อกานต์ ทนานใหญ่ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านสูตินรีเวชและเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เวิลด์เมดิคอล ชั้น 4 โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ถนนแจ้งวัฒนะ (WMC) ระบุว่า “ภาวะมีบุตรยาก” หมายถึง การที่คู่สมรสไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น โดยที่มีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ และไม่ได้คุมกำเนิดเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี หรือระยะเวลา 6 เดือน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงมีอายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไป

พบว่าประมาณร้อยละ 15 ของคู่สมรส ประสบปัญหามีบุตรยาก ซึ่งสาเหตุของภาวะมีบุตรยากสามารถเกิดได้จากทั้งจากฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง

ปัจจัยของการมีบุตรยากในฝ่ายหญิง

ความผิดปกติของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เช่น เนื้องอกมดลูก ท่อนำไข่ตีบตัน เนื้องอกรังไข่
ความผิดปกติในการทำงานของต่อมไร้ท่อ เช่น ภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง รังไข่หยุดทำงานก่อนวัย โรคไทรอยด์ผิดปกติ เป็นต้น
อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
ปัจจัยของการมีบุตรยากในฝ่ายชาย
ความผิดปกติในการสร้างหรือการหลั่งน้ำอสุจิ
ความผิดปกติแต่กำเนิดของอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น ลูกอัณฑะไม่ลงในถุง
ความผิดปกติในการทำงานของต่อมไร้ท่อ เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ผิดปกติ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ประมาณร้อยละ 15-30 ของคู่สมรสตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆ ซึ่งจัดเป็นผู้มีภาวะมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ

ทำอย่างไรเมื่อสงสัยว่ามีภาวะมีบุตรยาก

คู่สมรสที่สงสัยว่าจะมีภาวะมีบุตรยาก ควรได้รับการตรวจประเมินหาสาเหตุ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แก้ไขได้ และวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

แนวทางการรักษา ภาวะมีบุตรยาก
รักษาสาเหตุที่แก้ไขได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ เช่น การผ่าตัดเนื้องอก การผ่าตัดรักษาท่อนำไข่อุดตัน
การรักษาโดยการกระตุ้นไข่ และฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI)
การปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF, ICSI)

ยาคุมฉุกเฉิน คืออะไร กินแล้ว แต่ทำไมถึงยังไม่ได้ผล

ยาคุมฉุกเฉิน เป็นวิธีคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินที่สามารถทำได้โ […]

Read More

น้ำมันมะกอก แต่ละชนิดนั้นต่างกันยังไง แบบไหนดี

มีใครสงสัยเรื่องประเภทของ “น้ำมันมะกอก” หรือเปล่า ทำไมบ […]

Read More

โรคผิวหนัง อันตรายกว่าที่คิด สาเหตุเกิดจากอะไร

ความร้อนจากแสงแดดส่งผลให้เกิดโรคผิวหนังได้ ดังนั้นจึงคว […]

Read More