มะม่วงหาว มะนาวโห่ นอกจากเปรี้ยวแล้วยังมากสรรพคุณ

karondas

มะม่วงหาว มะนาวโห่ นอกจากเปรี้ยวแล้วยังมากสรรพคุณ

ถ้าจะพูดถึงผลไม้ในบ้านเราที่ให้สรรพคุณทางยาก็มีอยู่หลากหลายชนิด แต่มีอยู่ชนิดหนึ่งที่ชื่อเรียกนั้นสะดุดหูซะเหลือเกินว่ามะม่วงหาว มะนาวโห่” หลายคนที่เคยได้ยินชื่อนี้ก็ยังสงสัย สรุปแล้วมันเป็นมะม่วง หรือเป็นมะนาว แล้วทำไมต้องทั้งหาวและร้องโห่ แต่ในความเป็นจริงแล้วผลไม้ชนิดนี้ไม่ได้เป็นทั้งมะม่วงและมะนาวอย่างที่จินตนาการกัน ซึ่งที่มาของชื่อนั้นก็ถูกตั้งโดยนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร โดยบอกเพิ่มอีกว่าที่ตั้งชื่อนี้ก็เพื่อให้คล้องกับชื่อผลไม้ในวรรณคดี เรื่อง นางสิบสอง ตอน พระรถเมรี ที่ความตอนหนึ่งของเรื่องได้พูดถึงผลไม้สดที่มีรสชาติเปรี้ยวจัด ขนาดว่าทำให้คนที่ง่วงนอนอยู่รู้สึกกระชุ่มกระชวยและตื่นตัวขึ้นมาในทันควัน

มะม่วงหาว มะนาวโห่ นับว่าเป็นผลไม้ยอดนิยมที่ถูกจับตามองในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่ามะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่” ซึ่งถ้าเรียกสั้นๆ ก็น่าจะเข้าปากมากกว่า ผลไม้ชนิดนี้ได้รับความสนใจจากผู้ที่รักสุขภาพเป็นอย่างมาก เพราะในวงการแพทย์ก็ได้วิจัยออกมาพบว่ามีสรรพคุณทางยามากถึง 50 ประการ ครั้นจะนำไปใช้รักษาโรค หรือรับประทานควบคู่กับยาแผนปัจจุบันก็จะได้ผลที่ดียิ่งขึ้น

คุณสมบัติที่สำคัญของมะม่วงหาว มะนาวโห่

ก็เห็นจะเป็นเรื่องของการ ป้องกันมะเร็ง เพราะภายในผลไม้ชนิดนี้มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยบำรุงโลหิต ชะลอการแก่ก่อนวัย ป้องกันโรคหัวใจ ขยายหลอดเลือด รักษาปอด รวมไปถึงอาการถุงลมโป่งพองก็ช่วยบรรเทาให้ดีขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกใจว่าทำไมผลไม้ที่มีชื่อแปลกหูถึงได้รับความนิยม ขนาดว่าต้องควานหาซื้อมารับประทาน ตลอดจนหามาปลูกไว้เป็นไม้ประดับภายในบริเวณบ้านอีกด้วย

จากผู้ที่นิยมสมุนไพรให้ความรู้กับเราเพิ่มเติมมาว่ามะม่วงหาว มะนาวโห่” นั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้จากทุกส่วนของลำต้น อีกทั้ง ก็ยังมีส่วนน้อยที่จะรู้ว่าจริงๆ แล้ว มะม่วงหาว มะนาวโห่ นั้นเป็นคนละต้น หรือเป็นพืชคนละชนิด คนละสายพันธุ์กัน โดยมะม่วงหาวก็คือ มะม่วงหิมพานต์ ส่วนมะนาวโห่ก็คือ หนามแดง ซึ่งพืชทั้งสองชนิดนี้ก็มีสรรพคุณเพียบและช่วยบำรุงร่างกายได้ดีไม่แพ้กันเลยทีเดียว เพื่อให้ความกระจ่างเพิ่มขึ้นไปอีกขั้น เราก็มีข้อมูลจาก องค์กรสวนพฤกษาศาสตร์ มาอธิบายขยายความแตกต่างของพืชทั้ง 2 ชนิดนี้… 

มะม่วงหาว มะนาวโห่

ชื่อเรียกจริงๆ คือมะม่วงหิมพานต์” เป็นไม้ต้นขนาดกลางที่สามารถสูงได้ถึง 10 เมตร มีใบเป็นสีเขียวเข้ม ออกดอกเป็นช่อหลวมๆ สีแดงอมม่วง หรือสีครีม มีกลิ่นหอมออกเอียนๆ โดยที่แต่ละดอกจะมี 5 กลีบ เมื่อดอกแก่ ฐานรองดอกก็จะขยายใหญ่ขึ้นมีลักษณะคล้ายกับชมพู่ยาวประมาณ 6 – 7 เมตร มีสีเหลืองอมชมพู หากว่าแก่จัดก็จะมีกลิ่นหอม มีเมล็ด 1 เมล็ดติดอยู่ที่ส่วนปลายเป็นสีน้ำตาลอมเทา มีเปลือกแข็งหุ้ม เรียกว่าเม็ดมะม่วงหิมพานต์’ 

สรรพคุณทางยา

ผลช่วยฆ่าเชื้อ แก้โรคลักปิดลักเปิด พอกดับพิษ อีกทั้งยังช่วยขับปัสสาวะ

เมล็ดช่วยแก้อาการเนื้อหนังชาในโรคเรื้อน แก้ตาปลา แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้เนื้องอก บำรุงกระดูก บำรุงไขข้อ บำรุงเส้นเอ็น บำรุงผิวหนัง ไปจนกระทั่งถึงช่วยในการบำรุงกำลัง

เปลือกช่วยในเรื่องการขับน้ำเหลืองเสีย แก้บิด แก้กามโรค แก้อาการท้องเสีย แก้ปวดฟัน ฟอกดับพิษ อีกทั้งยังสามารถนำเมล็ดไปทำเป็นยาอมเพื่อรักษาแผลในปากได้อีกด้วย

ยอดอ่อนใช้รักษาโรคริดสีดวงทวาร

ยางใช้แก้อาการเลือดออกตามไรฟัน ช่วยทำลายตาปลา โดยให้ยางเข้าไปเป็นตัวช่วยกัดทำลายเนื้อด้านในที่เป็นปุ่มโต รักษาแผลเนื้องอก รักษาหูด รักษากลาก โรคเท้าช้าง

น้ำมันใช้ฆ่าเชื้อ เป็นยาชา ใช้รักษาโรคเรื้อน กัดหูด แก้ตาปลา แก้บาดแผลที่เน่าเปื่อย

50 สรรพคุณทางยา

  1. มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในเรื่องชะลอวัยและลดริ้วรอย (ผล)
  2. ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง (แก่น)
  3. แก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า (เนื้อไม้)
  4. เพิ่มความกระชุ่มกระชวยให้กับร่างกาย (ผล)
  5. ช่วยให้เจริญอาหาร (ราก)
  6. มีส่วนช่วยในการลดความอ้วน (ผล)
  7. ช่วยขยายหลอดเลือดและป้องกันการเกิดโรคหัวใจ (ผล)
  8. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง (ผล)
  9. มีส่วนในการรักษาโรคเบาหวาน เนื่องจากมีธาตุเหล็ก (ผล)
  10. มีส่วนช่วยในการรักษาโรคโลหิตจาง (ผล)
  11. ช่วยรักษาโรคปอด (ผล)
  12. ช่วยรักษาโรคถุงลมโป่งพองที่เกิดจากการสูบบุหรี่ (ผล)
  13. ช่วยรักษาโรคไต (ผล)
  14. บรรเทาอาการโรคตับ อาทิ โรคตับแข็ง (ผล)
  15. ช่วยรักษาโรคเกาต์ (ผล)
  16. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการโรคไทรอยด์ (ผล)
  17. ช่วยป้องกันโรคไหลตาย (ผล)
  18. ในประเทศบังคลาเทศนิยมใช้ใบในการรักษาโรคลมชัก (ใบ)
  19. มีส่วนช่วยบรรเทาอาการโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ชาตามมือตามเท้า (ผล)
  20. ช่วยบำรุงกำลัง (เนื้อไม้)
  21. ช่วยบำรุงธาตุ (ราก , แก่น , เนื้อไม้)
  22. ช่วยบำรุงไขมันในร่างกาย (แก่น , เนื้อไม้)
  23. รักษาไข้ รวมถึงไข้มาลาเลีย (ราก , ใบ)
  24. ช่วยดับพิษร้อน (ราก)
  25. ช่วยบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ (ผล)
  26. ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ (ผล)
  27. ช่วยขับเสมหะ (ผล)
  28. มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน (ผล)
  29. บรรเทาอาการเจ็บคอ เจ็บในปาก (ใบ)
  30. แก้อาการปวดหู (ใบ)
  31. ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟัน ทั้งยังช่วยสมานแผลที่เกิดในช่องปาก (ผล)
  32. ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร (ราก)
  33. แก้อาการท้องเสีย (ใบ)
  34. ช่วยรักษาโรคบิด (ใบ)
  35. ช่วยขับปัสสาวะ (ผล)
  36. ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (ยอดอ่อน)
  37. ช่วยขับพยาธิ (ราก)
  38. ช่วยรักษาโรคเท้าช้าง (น้ำยาง)
  39. ช่วยฆ่าเชื้อ (ผล)
  40. ช่วยในการสมานแผล (ผล , ยาง)
  41. ใช้รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง (เปลือกต้น)
  42. ช่วยแก้อาการคัน (ราก)
  43. ในประเทศอินเดียนิยมใช้รากเพื่อรักษาแผลที่เกิดจากเบาหวาน (ราก)
  44. แก้กลากเกลื้อน (เมล็ด , น้ำยาง)
  45. แก้อาการเนื้อหนังชาในโรคเรื้อน (เมล็ด)
  46. ช่วยรักษาแผลเนื้องอก (น้ำยาง)
  47. ช่วยรักษาหูด (น้ำยาง)
  48. ช่วยทำลายตาปลาและช่วยกัดทำลายเนื้อด้านในที่เป็นปุ่มโต (น้ำยาง)
  49. ใช้พอกดับผิษ (ผล)
  50. ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อตามข้อ (ผล)

มะนาวโห่” หรือชื่อเรียกจริงๆ คือหนามแดง” เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย หรืออาจเรียกว่าเป็นไม้ต้นขนาดเล็กก็ได้ มีความสูงเพียง 5 เมตร มียางสีขาว ออกใบเดี่ยว ออกดอกเป็นช่อยาว มีกลีบดอกสีขาว หรือสีชมพู ออกผลเป็นรูปไข่สีแดงชมพู หรือดำ

สรรพคุณทางยา

ผลช่วยรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน

ใบช่วยแก้อาการเจ็บคอ เจ็บในปาก แก้ท้องเสีย อาการปวดแก้วหู หรือแม้แต่แก้ไข้ก็ทำได้

แก่นช่วยบำรุงธาตุ บำรุงไขมันในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง

เนื้อไม้ช่วยบำรุงธาตุ แก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ทั้งยังช่วยบำรุงไขมันในร่างกายได้อีกด้วย

รากใช้แก้อาการคัน บำรุงธาตุ ช่วยขับพยาธิ ทำให้เจริญอาหาร ดับพิษร้อน ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ใช้แก้ไข้ได้อีกด้วย

สรุป

หากมองย้อนกลับไป การที่มะม่วงหาว มะนาวโห่” กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง โดยเฉพาะบรรดาคนที่รักสุขภาพ น่าจะหมายถึงผลของมะนาวโห่” หรือผลของหนามแดง” เสียมากกว่า เพราะมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในทุกพื้นที่ จากการสอบถามพบว่ามะนาวโห่เป็นพืชที่ดูแลง่าย ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน อีกทั้งในแต่ละระยะของการออกผลก็จะให้สีที่แตกต่างกัน บางบ้านก็ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับด้วย ส่วนการนำผลมารับประทานก็จะต้องเป็นผลที่มีสีดำ จะให้รสชาติอมเปรี้ยว อมหวาน กินแล้วสดชื่น กระชุ่มกระชวย แถมยังมีประโยชน์มากมายอีกด้วย

แหล่งที่มา

https://www.sanook.com/health/

แนวโน้ม ไข้เลือดออก ประจำปี66 เอื้อให้เกิดการระบาดสูง

แนวโน้ม ไข้เลือดออก ประจำปี66 เอื้อให้เกิดการระบาดสูง แ […]

Read More

โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ภัยใกล้ตัวผู้สูงอายุ

โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ภัยใกล้ตัวผู้สูงอายุ โรคโพรง […]

Read More

Wendigo Psychosis | อยากกินเนื้อมนุษย์

Wendigo Psychosis | อยากกินเนื้อมนุษย์ ตามตำนานพื้นบ้าน […]

Read More