ทำความรู้จัก ฝีดาษลิง กับ ฝีดาษคน นั้น แตกต่างกันอย่างไร

จากโรคฝีดาษลิงที่เริ่มมีข่าวระบาดในแถบยุโรป แตกต่างจากฝีดาษคนปกติอย่างไรบ้าง

เราอาจจะเคยได้ยินชื่อโรค “ฝีดาษ” หรือไข้ทรพิษกันมานานมากแล้วตั้งแต่เด็กๆ แต่เป็นชื่อโรคที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงกันมากนัก เพราะจริงๆ แล้วองค์การอนามัยโรคประกาศให้โรคฝีดาษสูญพันธ์ไปจากโลกแล้วเรียบร้อยตั้งแต่ปี 2517 และคนไทยก็เลิกปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคฝีดาษมานับแต่นั้นเป็นต้นมา

แต่จากข่าวการเริ่มระบาดของโรค “ฝีดาษลิง” ในแถบประเทศยุโรปและอเมริกาเหนือ ทำให้คนไทย รวมถึงคนทั่วโลกกลับมาตระหนักถึงโรคนี้กันอีกครั้งว่ามันมีอันตรายมากแค่ไหน คนเสี่ยงติดโรคนี้มากแค่ไหน

ยุโรป-อเมริกาเหนือ ผวา! พบผู้ป่วย “โรคฝีดาษลิง” หลายสิบคน หวั่นระบาดในท้องถิ่น
“ฝีดาษลิง” คืออะไร? ติดต่อจากลิงสู่คนได้อย่างไร? อันตรายแค่ไหน?
ฝีดาษลิง vs ฝีดาษคน แตกต่างกันอย่างไร
อาการของโรคฝีดาษลิง

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบายว่า โรคฝีดาษลิง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส orthopoxvirus เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่พบได้น้อย โรคนี้พบมากในแอฟริกากลาง และตะวันตก โดยเชื้อไวรัสฝีดาษลิงเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษในคน และฝีดาษวัว พบในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะหลายชนิด เช่น หนู กระรอก กระต่าย เป็นต้น สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงก็อาจติดเชื้อได้ รวมทั้งคนก็สามารถติดเชื้อนี้ได้เช่นกัน

ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคฝีดาษลิงหลังติดเชื้อประมาณ 12 วัน อาการป่วยคือ

มีไข้ หนาวสั่น
ปวดหัว เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต (ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นอาการสำคัญที่แตกต่างจากฝีดาษคน)
ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง
อ่อนเพลีย
จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย
จากผื่น จะกลายเป็นตุ่มหนอง
ในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะมีสะเก็ดคลุมแล้วหลุดออกมา
อาการของโรคฝีดาษคน

โรคฝีดาษมีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสวาริโอลา (Variola Virus) ซึ่งเชื้อไวรัสดังกล่าวสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ผ่านทางการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือหายใจเอาละอองสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อเข้าไปในร่างกาย นอกจากนี้การสัมผัสกับผื่นหรือตุ่มน้ำของผู้ป่วยตรงๆ โดยไม่ป้องกัน และการใช้เครื่องนอน เสื้อผ้า หรือผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้ป่วยก็ทำให้ติดเชื้อได้

เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 7-17 วัน หลังจากนั้นจะเริ่มแสดงอาการต่างๆ ดังนี้

มีไข้สูง
รู้สึกไม่สบายตัว หนาวสั่น
ปวดศีรษะ
อ่อนเพลียอย่างรุนแรง
ปวดหลังอย่างรุนแรง
อาเจียน
มีผื่นสีแดงขึ้นลามไปทั่วทั้งตัว แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำและตุ่มหนองตามลำดับ
จากนั้นต้องใช้เวลาอีก 8-9 วันแผลจึงเริ่มตกสะเก็ด แล้วค่อยๆ หลุด เหลือเพียงแผลเป็นในที่สุด

วิธีป้องกันโรคฝีดาษลิง

ฝีดาษในคนปกติได้สูญพันธ์ไปจากโลกแล้ว จึงไม่มีการปลูกฝีเพื่อป้องกันฝีดาษอีกนับตั้งแต่ปี 2517 แต่สำหรับการระบาดของโรคฝีดาษลิงในแถบยุโรปและอเมริกาเหนือ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนว่า หากสถานการณ์ไม่สู้ดี ในอนาคตเราอาจมีโอกาสที่ต้องเริ่มปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคกันอีกครั้ง

ขณะนี้ ยังไม่มีวิธีป้องกันฝีดาษลิงโดยเฉพาะ แต่การปลูกฝีที่ใช้ป้องกันฝีดาษในคน สามารถใช้ป้องกันฝีดาษลิงได้เช่นกัน

นอกจากนี้ การหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดและสัมผัสกับลิงป่วย รวมถึงผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง ไม่เข้าใกล้หรือสัมผัสกับแผลของผู้ป่วยโดยตรง และล้างมือและสวมอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อทุกครั้งที่ต้องเข้าใกล้พื้นที่โรคระบาด สามารถป้องกันการติดต่อของโรคฝีดาษได้ทั้งฝีดาษลิง และฝีดาษคน

แนวโน้ม ไข้เลือดออก ประจำปี66 เอื้อให้เกิดการระบาดสูง

แนวโน้ม ไข้เลือดออก ประจำปี66 เอื้อให้เกิดการระบาดสูง แ […]

Read More

โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ภัยใกล้ตัวผู้สูงอายุ

โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ภัยใกล้ตัวผู้สูงอายุ โรคโพรง […]

Read More

Wendigo Psychosis | อยากกินเนื้อมนุษย์

Wendigo Psychosis | อยากกินเนื้อมนุษย์ ตามตำนานพื้นบ้าน […]

Read More