การศัลยกรรมและวางยาสลบ
การศัลยกรรมและวางยาสลบในสัตว์เลี้ยง เมื่อได้ยินแล้วคิดว่าหลายๆท่านคงไม่ค่อยสบายใจนักหากสัตว์เลี้ยงของท่านมีอันต้องเกี่ยวข้องกับการกระทำเหล่านี้ ในความเป็นจริงแล้วความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการและเครื่องมือทางด้านสัตวแพทย์ได้มีการพัฒนาไปค่อนข้างไกลมาก ดังนั้นการศัลยกรรมและการวางยาสลบจึงสามารถช่วยเหลือชีวิตของสัตว์เลี้ยงของท่านได้อย่างมากเพียงแต่ทุกๆท่านต้องมีความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวมากขึ้น
ศัลยกรรมแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
ศัลยกรรมเนื้อเยื้ออ่อน (Soft Tissue Surgery) ทำให้การพักฟื้นใช้เวลาไม่นานและมีภาวะแทรกซ้อนค่อนข้างน้อยการผ่าตัดดังกล่าวได้แก่ การทำหมัน การทำฟัน การตัดนิว การตัดหาง หรือการตัดเนื้องอกเล็กๆ การผ่าคลอด เป็นต้น
การผ่าตัดขนาดใหญ่ (Major soft Tissue surgery) พบว่าการผ่าตัดชนิดนี้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ระยะเวลาในการผ่าตัดค่อนข้างนาน สัตว์เลี้ยงต้องใช้เวลาในการพักฟื้นนานเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย การผ่าตัดดังกล่าวได้แก่การผ่าตัด ช่องอกและกระบังลม การตัดต่อลำไส้ การแปลงเพศ การแก้ไขสภาวะกระเพาะบิด เป็นต้น
ศัลยกรรมกระดูก (Orthopedic surgery)
เป็นการทำการผ่าตัดกระดูกทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมกระดูกหักหลังแตกหรือเคลื่อน เชิงการหัก การรักษาต้องทำร่วมกับกาสรทำกายภาพบำบัด เพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อกระดูกให้กลับสู่สภาวะปกติให้เร็วขึ้น
การวางยาสลบคืออะไร
การวางยาสลบเป็นขั้นตอนสำคัญควบคู่ไปกับการผ่าตัดทุกประเภท โดยมีจุดประสงค์ให้สัตว์ปราศจากการรู้สึกตัว ไม่แสดงการเจ็บปวด มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อ และไม่มีปฎิกิริยาตอบโต้ขณะผ่าตัดเพื่อให้กระบวนการผ่าตัดสามารถดำเนินไปได้ โดยสามารถฟื้นกลับคืนเป็นปกติได้ภายหลังหมดฤทธิ์ยา
ใครมีหน้าที่ในการวางยาสลบ
วิสัญญีสัตวแพทย์ เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวางยามีหน้าที่ให้การดูแลสัตว์ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดทั้งก่อนและหลังจากการวางยาสลบเสร็จสิ้น โดยวิสัญญีสัตวแพทย์จะมีหน้าที่ดูแลจนกระทั่งสัตว์ฟื้นจากยาสลบจนรู้สึกตัวเต็มที่
วิธีการวางยาสลบ
วิธีการและขั้นตอนในการวางยาสลบนั้นอาจมีหลายวิธี ทั้งการใช้ยาฉีด ใช้ยาดม หรือการใช้ยาชาเฉพาะที่ (Block) ซึ่งการจะเลือกวิธีใดนั้นวิสัญญีสัตวแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดสำหรับสัตว์แต่ละตัว
การเตรียมตัวในการทำศัลยกรรมและวางยาสลบ
เนื่องด้วยอาจมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามามีผลกระทบ ทั้งเรื่องสุขภาพ อายุ โรคประจำตัว หรือแม้กระทั่งความเสี่ยงต่อการแพ้ยาสลบดังนั้นการที่จะทำให้สัตว์เลี้ยงที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดปลอดภัยจากการวางยาสลบที่สุด จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวที่ดี ดังนี้
1. ตรวจเช็คสุขภาพ โดยสัตวแพทย์ ประกอบด้วย
ศึกษาประวัติ
การตรวจร่างกายโดยตรงที่ตัวสัตว์
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ตรวจเลือด,ปัสสาวะ)
ตรวจพิเศษในกรณีจำเป็น เช่น EKG,อัลตราซาวด์, X-ray เป็นต้น
2. ปฎิบัติตามขั้นตอนที่สัตวแพทย์แนะนำ เช่นงดน้ำ งดอาหาร อย่างน้อย 12 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการอาเจียน หรือขย้อนอาหารออกมาซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการสำลักเข้าไปในปอดได้
ขอบคุณแหล่งที่มา : thonglorpet.com
ติดตามข่าวสาร ได้ที่ : mydeedees.com